เมื่อนิสัยเปลี่ยนได้ด้วยการเดิน
เมื่อไม่นานมานี้เราค้นพบว่า วิธีการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่ดี และได้ผลจริงที่สุด คือการสร้าง Small Win ในทุกๆวัน บนกิจวัตรประจำวันธรรมดา
จริงๆก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอก คิดว่าใครๆก็คงรู้อยู่ ว่าพฤติกรรมใดๆก็ตาม ที่เราทำมันต่อเนื่องเกิน 30 วัน มีโอกาสที่จะกลายเป็นนิสัยติดตัวเราไปอีกนาน…
เรื่องมันก็มีอยู่ว่าช่วง 3–4 ปีก่อน เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งจุดเริ่มต้นเกิดจากการนอนไม่หลับ เพราะเครียด อาศัยการดื่มและปาร์ตี้ระห่ำมากๆ เพื่อคลายแล้วให้ร่างกายมันน๊อคไปเอง
ซึ่งเอาจริงๆ มันไม่ได้ดีเลย พอเกิดขึ้นบ่อยๆครั้งๆ ร่างกายมันก็ต้านจนหลับไม่ได้เลย เลยต้องไปหาหมอเพื่อรักษา ทีนี้ในช่วงของการรักษาทั้งการกิน และการบำบัดมันทำให้เกิดเรื่องเหวอๆ ของเราอยู่ 2–3 อย่าง
อย่างแรกคือเรา มีความจำที่สั้นมากๆ มากแบบเหมือนคนป่วยอัลไซเมอร์เลยทีเดียว จำไมไ่ด้กระทั่งว่า อาหารที่เพิ่งกินมื้อก่อนหน้าทานไปแล้วหรือยัง
เรื่องที่สองก็คือ ความรู้สึก คือทุกอย่างมันด้านชาไปหมด คือไปดูหนังตลกก็ไม่ตลก ไปดูอะไรที่มันเศร้า ก็ไม่เศร้า (เข้าใจว่าเป็นเพราะฤิทธ์ของยา) เหมือนไม่สามรถสมาธิหรือทำความเข้าใจได้ว่า มันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ในอีกนัยนึงมันเหมือนเราไม่สามรถอ่านความรู้สึก หรือพวกบริบทรอบๆออก ก็เลยไม่เข้าใจ
และเรื่องสุดท้ายซึ่งเป็นความเศร้าระดับสูงสุดของเรา (ส่วนตัว) คือการอ่านหนังสือไม่ออก โฟกัสจับจุดไม่ได้ อาทิเช่นอ่านไปสามบรรทัดแล้วก็ลืม พยายามอ่านอยู่หลายวัน ก็อ่านไม่ได้ สุดท้ายก็ล้มเลิกความตั้งใจ ไม่ฝืนต่อ คิดเอาเองว่าน่าจะเฟลน้อยกว่า
ก็เลยหันไปทำอย่างอื่นแทนเลย เนื่องจากตอนนั้นทุ่มเทให้กับการรักษาตัวเองมาก มากระดับที่ว่าหยุดงานไปหลายเดือน เอาเวลามาทำความเข้าใจตัวเอง และพยายามปรับพฤติกรรมใหม่
ตอนนั้นเล่าให้เพื่อนฟังว่า มันเหมือนกับเราล้างสมองตัวเองแบบ uninstalled skill ออกหมดในวัยกลางคน
พอคิดได้แบบนี้เลยมองว่า เออว่ะถ้าเราต้องเริ่มต้นใหม่ทุกอย่างตั้งแต่วันนี้ เราจะทำอะไรเป็นอย่างแรกวะ ซึ่งก็จบประเด็นนี้ไปแบบโง่สุดๆเลยคือ เราต้องแข็งแรงก่อน คือถ้าร่างกายมันแข็งแรงได้ การฟื้นตัวมันก็น่าจะเร็วขึ้น ทั้งจิตใจและองค์รวมน่าจะไปในทิศทางเดียวกัน
เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า เฮ้ยไอ้เหี้ยนี่ออกกำลังกายจนเครียดจัด เป็นบ้านอนไม่หลับมาก่อน ก็เลยเริ่มจากอันนี้แหละ
แรกๆก็คิดว่าเฮ้ยจะไปวิ่งวันนึงแม่งซักสิบโลทุกเช้า เดี๋ยวมึงรู้เลย แต่ด้วยความไม่ประมาณตนมันก็จะจบลงที่ เดินเหยาะๆแหยะๆสี่โล มีวิ่งหลอกๆปลอมๆบ้างแค่นั้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำๆไปได้ไม่นานก็บาดเจ็บ ปวดกล้ามเนื้อ หาข้ออ้างและขี้เกียจจนหยุดไป
แล้วก็กลับมาคิดใหม่ว่า ทำไมเราต้องฝืนตัวเองขนาดนั้น ร้อยวันพันปีก็ใช่ว่าจะเป็นคนออกกำลังกายซะหน่อย อยู่ๆไปวิ่งอย่างนั้น ชีวิตมึงไม่ใช่พระเอกการ์ตูนกีฬาโชเน็นจั๊มป์ซะหน่อย จะไปทำได้ไงวะ
รอบนี้เลยมาแบบเรียบง่ายคือเดินนี่ล่ะ เอาแบบสบายๆในสวนตอนเช้าหนึ่งรอบถ้วนพอ (ระยะทางประมาณ 3.8-4กิโล) บอกกับตัวเองว่าถ้าเดินได้ติดต่อกัน 3 วัน จะพัก1วัน วันไหนไปไม่ได้ ก็จะหาเวลาเดินให้ได้ระยะเท่านี้แหละ
ซึ่งพอกลับมาวิ่งในครั้งถัดไปจะเดินให้ไกลขึ้นอีกสิบเมตร แล้วก็ทำซ้ำไปอีกสามวัน แล้วก็สร้างกิจวัตรนี้วนไปเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดเวันหนึ่งราก็เดินได้ครบ 8กิโล เย้ๆแบบไม่ได้รู้สึกฝืนแต่อย่างใด
จากนั้นเราจึงค่อยๆเพิ่มความเร็วของการเดิน โดยอาศัยการจับเวลาตอนเริ่ม และตอนเดินเสร็จเป็นหลัก โดยดูจากเวลาเฉลี่ยช่วงเดินปกติ แล้วก็ค่อยๆลดเวลาลงเท่าที่ทำได้ ครั้งละนาทีบ้างแล้วพอถึงจุดหนึ่งที่ทำเวลามากกว่านี้ไม่ได้แล้ว
เราก็รู้ว่าเออนี่ล่ะ ถ้าจะไปต่อจากนี้เราก็ต้องเริ่มวิ่งละ ซึ่งก็ใช้หลักการเดิมเลยคือ เดินเร็วสลับกับวิ่ง ซึ่งวิ่งก็ไม่ได้เร็วหรอกนะ จะเน้นการก้าวเท้าและลงเท้าแบบจ๊อกกิ้ง ไม่ทิ้งน้ำหนักลงไป เพื่อเซฟหัวเข่าไม่ให้กระแทกมาก และต้องการเริ่มสิ่งนี้แบบถูกวิธี
คือถ้าเราก้าวเท้าได้ถูกต้องจนชิน เป็นธรรมชาติแล้วเนี่ยต่อไปก็จะไม่ลืม เหมือนพื้นฐานเราดีต่อๆไปมันก็ จะต่อยอดได้ไวไม่บาดเจ็บ ไม่ต้องมานั่งแก้นั่นแก้นี่เยอะ ในตอนท้ายหรือระหว่างการปรับตัวเอง
ด้วยอานิสงค์ของการตื่นเช้า เพื่อไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ เราพบว่ามันมีความสดชื่นและ ชีวิตแอคทีฟแบบรู้สึกดีบอกไม่ถูก ตกกลางคืนก็จะค่อยๆเริ่มจะหลับง่ายขึ้นด้วย พูดแบบเห็นภาพเลยคือ เหมือนเราปรับไทม์โซนชีวิตเป็นเวลาญี่ปุ่น
แต่ตัวร่างกายอยู่ไทยทุกอย่างเลยแบบ เหมือนเริ่มก่อนชาวบ้านไปหมด เวลากิน เวลานอน ซึ่งก็ดีไม่ต้องแย่งอะไรกับใครทั้งนั้น นอนก็เร็ว คือใจมันร้อนเร่งอยากหายซึมเศร้า
โปรเซสที่วิ่งและการพยายามปรับร่างกายเนี่ย มันก็กินเวลาอยู่ครึ่งปี คือไม่ฝืนไม่ต้าน พยายามสร้างให้มันเป็นชีวิตปกติให้ได้ที่สุด แล้วก็พยายามปรับๆไป เมื่อเจอเหตุการณ์ตรงหน้าและอุปสรรคใสแต่ละวัน
ช่วงนั้นก็ให้รางวัลตัวเองด้วยการ ไปหาร้านใหม่ๆอร่อยๆกิน หรือสถานที่ๆไม่เคยไป
เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมให้ ไม่หยุดการเรียนรู้ และสังเกตสิ่งรอบๆตัวไปด้วย เปิดประสบการณ์ออกไปซ่าออกไปกล้า เพราะคิดว่าการกินอะไรอร่อยๆ นี่น่าจะเป็นความสุขอันเรียบง่ายสุดของมนุษย์ล่ะ บนปัจจัยพื้นฐานกันไปเลย
คือกินอิ่มนอนหลับ ชีวิตช่วงนั้นขอเท่านี้จริงๆ ทำได้คือโอ้พระเจ้ามันดีจริงๆเว๊ย ทีนี้ระหว่างการออกกำลังไปได้ 2–3 เดือนเราก็เริ่มเพิ่มนิสัยใหม่ย่อยๆขึ้นมาอีกหลายอย่างไปเรื่อยๆทีละนิด ซึ่งท่อนต่อไปนี้จะถือเป็นส่วนขยาย ก่อนที่จะไปลงรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละหัวข้อ
ซึ่งหลักๆก็จะมีแยกเป็นสองอย่าง
อย่างแรกคือการจดบันทึก เราจดบันทึกรายรับรายจ่าย และไดอารี่บันทึกอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงนัดหมายกำหนดการต่างๆ (บนโลกออนไลน์) และไอเดียหรืออะไรก็ตามที่วิ่งเข้ามาในหัวช่วงเวลานั้น ลงบนสมุด (เดี๋ยวจะมาบอกว่าทำไม)
อย่างที่ 2 คือปรับเรื่องการกิน ตั้งแต่เวลาที่จะกินและหยุดกิน สิ่งที่ต้องทานเพิ่มอย่างเช่น น้ำเปล่า, วิตามินต่างๆ ของที่ต้องหยุดกินอย่างแอลกฮอล์ทุกอย่าง นั่นก็เพราะสิ่งที่เรากินและระยะเวลาที่ทาน มันอาจจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายท้องตอนก่อนนอน และร่างกายรวนเรได้เมื่อพยายามจะตื่น เนื่องจากตอนนั้นต้องทานยาต้านซึมเศร้าของหมอ
ซึ่งเราขอหมอว่าเราอยากทานโดสให้น้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วก็จะพยายามสังเกตและรักษาตัวเองด้วย วิธีการข้างต้นตามที่เล่า แล้วก็จะพยายามเช็คอัพและมาอัพเดทบ่อยๆ บอกก่อนว่าช่วงนั้นเราอาการหนักถึงขั้น
หมอแนะนำให้ทำบำบัดไปด้วยพร้อมกัน และต้องทำทุกสองอาทิตย์ ซึ่งเขาก็จะได้ตามเคสของเราไปเรื่อยๆ กับหมออีกท่านร่วมกัน ด้วยความที่เราเปิดกว้างและยินดีรับฟังพร้อมปรับตัว มันเลยช่วยให้ทุกอย่างพอเป็นไปได้มากขึ้น
เป้าหมายหลักของการกินกับการออกกำลังกายเนี่ย ก็เพื่อให้ร่างกายสามรถฟื้นฟูได้ดี และมีประสิทธิภาพสุดๆ แบบกองทัพเดินด้วยท้องน่ะ กำลังมาปัญญาเกิดไรงั้น
สิ่งที่จะทำให้เรารู้ว่าเรามีความก้าวหน้า ไม่ได้คิดเองเออเองอยู่คนเดียว นั่นก็คือการจดบันทึกจ้า (จริงๆยิ่งละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งดี) แต่แรกๆอย่าเพิ่งเยอะเดี๋ยวจะกดดันตัวเองไป ค่อยๆเพิ่มเอาเน้น small win ก่อน
เป้าหมายหลักของการบันทึกบน App หรืออนไลน์เหตุผลก็คือ เราจะสามรถติดตามผล และสังเกตพฤติกรรมของเราได้ เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และช่วยเราจำ (อย่างที่บอกว่าความจำเราห่วยมาก) วิธีการมันก็ง่ายๆทุกครั้งที่เราทำอะไรแล้วรู้สึกดี หรือแย่เรากจะเปิดแอพนี้ขึ้นมาเพื่อบันทึกสั้นๆทันที
อาทิเช่น อาหารอร่อยมากแฮปปี้ เราก็จะเขียนว่าข้าวมันไก่ร้าน… พร้อมติ๊กไอคอนมีความสุขลงไปเป็นต้น อันนี้รสเหี้ยมากเหมือนไก่ส่งแรงอาฆาตแค้นจากนรก ก็จะจดเช่นกัน พอจบท้ายวันก็จะมาเขียนภาพรวมคร่าวๆ อีกทีว่ารู้สึกตลอดทั้งวันนี้ให้เกรดตัวเองยังไง
เพิ่มเติมคือแอพนี้สามรถ export file ออกมาเป็น pdf ไว้เก็บหรือดูได้ด้วยนะเวรี่ดี เขียนมาถึงตอนนี้ก็สามปีกว่าละ ถือว่าคุ้มเป็นอย่างยิ่ง
แน่นอนว่าบางทีเราก็ จำไม่ได้หมดทุกอย่างหรอกเราเลยใช้อีกแอพหนึ่งช่วยจำ ว่ากิจกรรมในแต่ละวันของเราเกิดอะไรขึ้นบ้าง นั่นคือแอพบันทึกรายรับรายจ่ายอย่าง money lover เพื่อให้เราไล่รีเช็คสถานการณ์ในหัวเราด้วย
ประกอบกับการถ่ายรูปสิ่งต่างๆ อย่างอาหารและสถานที่ๆไปลงใน google photo ทีนี้เราก็จะสามรถ crosscheck กันไปมาได้ตลอด ซึ่งดีมากสำหรับเราในหลายๆกรณี อาทิเช่นลืมของไว้ตรงไหนอะไรยังไงเป็นต้น
บอกก่อนว่าเริ่มแรก เราก็ไม่สามรถบันทึกได้เยอะหรือทำได้หมดในคราเดียว แต่อาศัยค่อยๆเพิ่มกิจกรรมเหล่านี้เข้าไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติของชีวิตลงไป
ข้อดีของการเน้นถ่ายภาพรอบๆตัวไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่วันหนึ่ง เมื่อเรานำภาพเหล่านั้นมาดูเรียงๆกัน เราจะเห็นว่าเราสนใจอะไร เราอยากจดจำอะไรด้วยในแต่ละวัน ข้อดีอีกอย่างคือ มันบอกสถานที่เราถ่ายด้วยสภาพแสงและข้อมูล ที่วันนึงเราอาจจะได้ใช้ก็ได้
สมุดโน็ตที่พกติดตัว ไว้จดไอเดียจดอะไรก็ได้ จะมีสาระหรือไม่มีก็ได้ แต่ก็ควรค่าแก่การเขียนในนี้นะ เพราะส่วนนึงคือ มันไม่ได้มีอะไรกำกับเป็นกฏเกณท์ตายตัวบนกระดาษขาว ไม่ว่าเราจะนำไปใช้ประโยชน์ทีหลังหรือไม่ มันเป็นแค่การ Freewriting เพื่อปลดปล่อยพันธนากรเขิงจินตนาการเราเสียมากกว่า
แน่นอนว่าทั้งหมดของการจดบันทึกส่วนนี้ เป้าหมายหลักๆก็คือเพื่อให้จดจำความรู้สึกทางจิตใจ และเชิงกายภาพว่าเรา มีสภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง (ข้อมูลส่วนตัว) เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์หรือเก็บไว้ เป็นเชื้อเพลิงทางอารมณ์หากวันใดตัวเองอ่อนล้า
ส่วนการบันทึกอีกแบบ เป็นการฝึกจับประเด็นและนำเสนอ อย่างการเขียนใน fb หรือ การในบล็อคเป็นการเล่าให้คนอื่นฟัง มากกว่าการพูดกับตัวเองว่าอย่างไรดังนั้น มันจึงย่นย่อ แบบคิดเองเออเองไม่ได้
พูดแบบให้เห็นภาพเลยคือ รวบยอดทุกอย่างแล้วกลั่นมันออกมาเป็นเรื่องเล่า ถ้าเปรียบเป็นอาหารพวกเครื่องมือที่เราแนะนำข้างต้นนั้น เป็นเหมือนวัตถุดิบที่เราเตรียมไว้
ส่วนการเขียนตรงจุดนี้คือการคราฟท์ข้อมูลเหล่านั้น โดยผสมของทั้งสองสายเข้าด้วยกันเหมือนการประกอบอาหาร ซึ่งจะเป็นจานเดี่ยวหรือเป็นฟูลคอรส์ก็ได้เช่นกัน จะใส่สีเติมแต่ง ก็มีเพียงแต่เราเท่านั้นที่รู้ ซึ่งอาจจะดีหรือล้มเหลวก็ได ้แต่ก่อนหน้านั้นต้องรักผลงานเขียนตัวเองก่อน
แล้วก็ต้องเปิดกว้างสำหรับคำติชมเสมอ มองให้ออกว่าอะไรเป็นประโยชน์ที่เราสามรถนำไปปรับต่อได้ แล้วอะไรที่เป็นสิ่งที่เราเลือกที่อยากจะคงไว้ต่อ ไม่อยากเปลี่ยนแปลง
แล้วเดี๋ยวมาต่อใน part 2